Catechism Catholic Search

Google
 

싼야민공- Phomthong's LiveTV 3G+ Online

phomthong on livestream.com. Broadcast Live Free
Free Avatar

Tuesday 16 February 2010

วันพุธรับเถ้า (Ash Wednesday)

วันพุธรับเถ้า (Ash Wednesday)
วันพุธรับเถ้า วันเริ่มต้นของเทศกาลมหาพรต

วันพุธก่อนวันอาทิตย์แรกของเทศกาลมหาพรต สัตบุรุษจะรับเถ้าเป็นการเริ่มต้นเทศกาลมหาพรต

พิธีเสกและโรยเถ้า ตามปกติจะทำในพิธีมิสซา หลังอ่านพระวรสารและเทศน์ ซึ่งให้ความหมายว่า พร ะวาจาของพระเจ้าเป็นพลังสำคัญที่ปลุกเร้าจิตใจของคริสตชนให้สำนึกตน กลับใจ และใช้โทษบาปในเทศกาลมหาพรตนี้

บทอ่านจากพระคัมภีร์ในพิธีมิสซาวันพุธรับเถ้า บทอ่านแรกจากหนังสือประกาศกโยเอล (ยอล. 2:12-18) กล่าวว่า “เจ้าทั้งหล ายจงเต็มใจกลับมาหาเรา ด้วยการอดอาหาร ร้องไห้ และเป็นทุกข์คร่ำครวญ ณ บัดนี้เถิด” บทอ่านที่สองนำมาจากจดหมายของนักบุญเปาโลอัครสาวกถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 2 (2 คร. 5:20-6:2) ยังคงกล่าวถึงการกลับใจอย่างต่อเนื่องว่า “จงคื นดีกับพระเจ้าเถิด บัดนี้แหละเป็นเวลาที่เหมาะสม” และพระวรสารนักบุญมัทธิว ให้ความหมายที่แท้จริงของการกลับใจในภาคปฏิบัติ โดยนำเสนอคำสอนของพระเยซูเจ้าในเรื่อง “การทำทาน” “การอธิษฐานภาวนา” และ “การจำศีลอดอาหาร” พ ระองค์ทรงสอนว่า “จงระวังอย่าประกอบกิจการดีของท่านต่อหน้ามนุษย์เพื่ออวดเขา มิฉะนั้น ท่านจะไม่ได้รับบำเหน็จจากพระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์” (มธ. 6:1-6,16-18)
อ้างอิง http://school.rvs.ac.th/rvsradio/htdocs/board/index.php?topic=184.0

วันพุธรับเถ้า เป็นวันเริ่มเทศกาลมหาพรต คือ ระยะเวลาสี่สิบวันเพื่อเตรียมสมโภชปัสกา ซึ่งเป็นวันฉลองที่ยิ่งใหญ่ และสำคัญที่สุดในรอบปีของพระศาสนจักร เพราะสมโภชปัสกาเป็นการเฉลิมฉลองการที่พระเยซูเจ้าทรงรับทรมาน สิ้นพระชนม์และทรงกลับคืนพระชนม์ชีพ เพื่อกอบกู้มนุษยชาติให้คืนดีกับพระเจ้ามารับชีวิตร่วมกับพระองค์ เทศกาลนี้มีชื่อเป็นภาษาลาตินว่า “Quadragesima” ซึ่งแปลว่า “ที่สี่สิบ” (ภาษาอังกฤษเรียกเทศกาลนี้ว่า “Lent”) เป็นเทศกาลที่ครอบคลุม 6 สัปดาห์ในพระศาสนจักรตะวันตก (ยุโรป หรือ 7 สัปดาห์ในพระศาสนจักรตะวันออก โดยเริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์แรกของเทศกาลมหาพรต

ชาวอิสราเอลในปัจจุบันนี้ก็ยังฉลองปัสกาทุกปี เพื่อระลึกถึงการอพยพออกจากประเทศอียิปต์ การที่พระเจ้าทรงกระทำพันธสัญญากับพวกเขาให้เป็นประชากรของพระองค์ และระลึกถึงการเดินทางผ่านถิ่นทุรกันดารเพื่อเข้าในดินแดนแห่งพระสัญญา ในขณะที่คริสตชนฉลองปัสกาเพื่อระลึกถึงการผ่านจากความตายเข้าสู่ชีวิตพร้อมกับองค์พระคริสต์เจ้า ดังนั้น ในเทศกาลมหาพรตซึ่งเป็นการเตรียมสมโภชปัสกานี้พระศาสนจักรจึงย้ำถึงความจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงชีวิตโดยการกลับใจละทิ้งบาป และกิจการชั่วร้ายต่างๆ ที่ทำให้เราเหินห่างจากพระเจ้า จะได้หันกลับมาหาพระองค์เพื่อรื้อฟื้นชีวิตใหม่ในพระคริสตเจ้าให้เข้มแข็งยิ่งๆ ขึ้นทุกปี เทศกาลมหาพรตจึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเตรียมตัวคริสตชนสำรอง เพื่อรับศีลล้างบาปในคืนวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองปัสกาที่พระเยซูคริสตเจ้าทรงมีชัยชนะต่อบาป และความตายกลับคืนพระชนม์ชีพนอกจากนั้นยังเป็นโอกาสที่พระศาสนจักรจะอภัยบาปแก่คริสตชนที่ทำบาปหนัก และต้องการจะคืนดีกับพระเจ้าและพระศาสนจักร เพราะฉะนั้นเทศกาลมหาพรตจึงเป็นระยะเวลาที่คนบาปเช่นนี้แสดงการกลับใจ โดยปฏิบัติกิจใช้โทษบาปที่พระศาสนจักรกำหนดให้ กิจการที่ว่านี้ได้แก่การอธิษฐานภาวนาการให้ทานและการจำศีลอดอาหาร

การจำศีลอดอาหารเพื่อเตรียมฉลองปัสกานี้แต่เดิมถือกันเพียงสองหรือสามวันก่อนสมโภชปัสกาเท่านั้น ตามที่เราทราบจากงานเขียนของ Eusebius นักประวัติศาสตร์พระศาสนจักรที่บอกว่า นักบุญอิเรเนโอในปลายศตวรรษที่ 2 กำหนดไว้เช่นนี้ แต่ต่อมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 4 เมื่อมีการกำหนดเทศกาลมหาพรตเพื่อเตรียมฉลองปัสกาขึ้นโดยเฉพาะ ระยะเวลาการจำศีลก็ขยายออกไปถึง 40 วันตลอดเทศกาลมหาพรต และปฏิบัติอย่างเคร่งครัด กินอาหารอิ่มได้เพียงวันละมื้อเดียวเท่านั้น เพื่อระลึกถึงการจำศีลอดอาหารของโมเสสของประกาศกเอลียาห์และของพระเยซูเจ้า แต่เนื่องจากคริสตชนมีธรรมเนียมไม่จำศีลอดอาหารในวันอาทิตย์ (และวันเสาร์ด้วยในพระศาสนจักรตะวันออก) วันจำศีลอดอาหารในเทศกาลมหาพรต 6 สัปดาห์ (หรือ 7 สัปดาห์ในพระศาสนจักรตะวันออก) จึงเหลือจริงเพียง 36 วัน และต้องเพิ่มวันจำศีลในวันธรรมดาก่อนอาทิตย์แรกในเทศกาลมหาพรตอีก 4 วัน คือวันพุธ พฤหัสบดี ศุกร์ และเสาร์ให้ครบ 40 วัน เทศกาลมหาพรตจึงเลื่อนมาเริ่มในวันพุธซึ่งเป็นวันธรรมดา แทนที่จะเริ่มในวันอาทิตย์แรกของเทศกาลเช่นเดียวกับในเทศกาลอื่นๆ

ในปัจจุบันนี้ เทศกาลมหาพรตเริ่มตั้งแต่วันพุธรับเถ้าซึ่งมีพิธีเสกและโปรยเถ้าบนศรีษะของคริสตชนระหว่างพิธีมิสซา หรือไม่มีมิสซาก็ได้ ในพันธสัญญาเดิมมีกล่าวถึงการใช้เถ้าโปรยศรีษะเป็นเครื่องหมายแสดงการไว้ทุกข์หรือการกลับใจ เช่น ยชว 7:6;2 ซมอ 13:19; อสค 27:30; โยบ 2:12,42; ยนา 3:6; อสธ 4:3; ยดธ 9:1; อสย 58:5-7; ดนล 9:3; ยอล 2:12-13 เป็นต้น มีหลักฐานปรากฏว่า คริสตชนใช้เถ้าโรยศรีษะเป็นเครื่องหมายแสดงการเป็นทุกข์กลับใจเมื่อเริ่มเทศกาลมหาพรตนี้ ตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 10 เท่านั้นในดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำไรน์ แต่ก็เป็นเพียงกิจศรัทธาส่วนตัว ต่อมาธรรมเนียมนี้ขยายเข้ามาในคาบสมุทรอิตาลีในศตวรรษที่ 11 เข้ามาที่กรุงโรมในศตวรรษที่ 12 และถูกรับเข้ามาในหนังสือพิธีกรรมของพระศาสนจักรที่กรุงโรมในศตวรรษที่ 13 เท่านั้น

ในความเข้าใจของคริสตชนจำนวนไม่น้อย เทศกาลมหาพรตเป็นเพียงเทศกาลที่เราต้องทรมานกายใช้โทษบาปโดยการจำศีลอดอาหารหรือทำพลีกรรมอื่นๆ เท่านั้น อันที่จริงเทศกาลมหาพรตเป็นการเดินทางมุ่งหน้าด้วยความยินดีไปเฉลิมฉลองปัสกาซึ่งเป็นยอดวันฉลองในรอบปี ในช่วงเวลาการเดินทางนี้เราจึงต้องละทิ้งกิจการชั่วร้ายและนิสัยไม่ดีต่างๆ ที่ทำให้ภาพลักษณ์ของพระคริสตเจ้าในชีวิตของเราต้องจางลงหรือเปื้อนหมองไป การจำศีลอดอาหาร การอธิษฐานภาวนา การให้ทานจึงเป็นโอกาสให้เราคิดถึงความรักต่อพระเจ้า และต่อเพื่อนพี่น้องด้วยการช่วยเหลือแบ่งปันให้แก่กัน ไม่ใช่เพื่อลงโทษร่างกายให้มีความทุกข์เท่านั้น การจำศีลอดอาหารช่วยให้เรารู้จักประมาณในการกินดื่ม เพื่อไม่ปล่อยตัวให้กินดื่มจนเมามาย ซึ่งจะเป็นเหตุให้เราตกในบาปได้โดยง่าย การจำศีลอดอาหารในความหมายแท้จริง จึงต้องพิจารณาควบคู่ไปกับการดำเนินชีวิตคริสตชนให้ครบทุกด้าน ไม่ใช่แยกอยู่อย่างเอกเทศ เทศกาลมหาพรตเป็นเทศกาลแห่งการกลับใจ เราต้องมีความใกล้ชิดกับพระเจ้ายิ่งขึ้นไม่ใช่เพียงด้วยการอธิษฐานภาวนาเท่านั้น เรายังต้องใกล้ชิดกับพระองค์ผ่านทางเพื่อนพี่น้องซึ่งก็เป็นบุตรของพระเจ้าด้วย โดยการแสดงความรักช่วยจุนเจือความขัดสนของเขา ด้วยการเสียสละเงินทองส่วนหนึ่งที่ได้มาจากการประหยัด เพราะอดอาหารช่วยให้ผู้หิวโหยได้มีอาหารเพียงพอ

ในปัจจุบัน พระศาสนจักรลดหย่อนข้อบังคับเรื่องการจำศีลอดอาหารในเทศกาลมหาพรตลงเหลือเพียงสองวัน คือในวันพุธรับเถ้าเมื่อเริ่มเทศกาล และในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ระลึกถึงพระทรมาน และการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูคริสตเจ้าบนไม้กางเขน (Apostolic Constitution “Paenitemini” 1966) ถึงกระนั้น พระศาสนจักรยังคงรักษาจิตตารมณ์แท้จริงของเทศกาลมหาพรตไว้ไม่เปลี่ยนแปลง นั่นคือการกลับใจสละน้ำใจของตนเพื่อปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระบิดาเจ้าให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเหมือนองค์พระเยซูเจ้า เพื่อจะได้พร้อมที่กลับคืนชีพพร้อมกับพระองค์ในคืนวันปัสกา

พิธีรับเถ้าในวันพุธเริ่มเทศกาลมหาพรต ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงกิจศรัทธาส่วนตัวและต่อมาถูกรับเข้ามาในพิธีกรรมทางการของพระศาสนจักรนั้น ยังเป็นโอกาสให้เราเริ่มเทศกาลศักดิ์สิทธิ์ ด้วยความสำนึกถึงสภาพต่ำต้อยของเราดังถ้อยคำของพิธีกรรมที่บอกเราว่า “มนุษย์เอ๋ย จงระลึกเถิดว่าท่านเป็นเถ้าธุลีและจะกลับเป็นเถ้าธุลีอีก” ส่วนถ้อยคำอีกแบบหนึ่งของพิธีโปรยเถ้าที่ว่า “จงกลับใจใช้โทษบาปและเชื่อพระวรสาร (“ข่าวดี” เถิด” (เทียบ มก 1:15) นั้น ชี้แนะแนวทางที่เราจะต้องเดินตลอดเทศกาลมหาพรตนี้ เพื่อเข้าร่วมอยู่ในพระอาณาจักรของพระเจ้าและรวมเป็นหนึ่งเดียวกับองค์พระคริสตเจ้า ผู้ทรงกลับคืนพระชนม์ชีพซึ่งเราจะสมโภชในเทศกาลปัสกา

บทอ่านในพิธีกรรมวันพุธรับเถ้านี้ทั้งสามบท ยังเชิญชวนเราให้มองชีวิตจากแง่มุมต่างกัน บทอ่านบทแรกจากหนังสือประกาศกโยเอล (ยอล 2:12-18) เตือนเราไม่เพียงแต่ฉีกเสื้อผ้าเป็นเครื่องหมายแห่งการไว้ทุกข์ภายนอกเท่านั้น แต่เราต้อง “ฉีกจิตใจ” คือเป็นทุกข์กลับใจละทิ้งบาป และความชั่วอย่างจริงจัง พระเมตตาของพระเจ้าพร้อมที่จะให้อภัยความผิดของเราทุกคน บทอ่านที่สองจากจดหมายของนักบุญเปาโลอัครสาวกถึงชาวโครินธ์ (2 คร 5:20 , 6;2) เตือนให้เรากลับคืนดีกับพระเจ้าและกับเพื่อนมนุษย์ ใช้เวลาที่พระเจ้าประทานให้ในเทศกาลศักดิ์สิทธิ์นี้ประกอบกิจการดี ให้เป็นประโยชน์มากที่สุดสำหรับทุกคนส่วนพระวรสาร (มธ 6:1-6,16-18) เตือนให้เราปฏิบัติกิจการดีของตนอย่างซื่อสัตย์ จริงใจ โดยไม่โอ้อวด หรือแสวงหาคำชมจากคนที่เห็นกิจการดีของเรา ข้อความที่บอกให้เราเข้าไปในห้องชั้นใน เพื่ออธิษฐานภาวนาต่อพระบิดาเจ้าโดยตรงนั้น ไม่ได้ห้ามเราที่จะมาร่วมพิธีกรรมส่วนร่วมพร้อมกับพี่น้องคริสตชนคนอื่นๆ ตรงกันข้าม พิธีกรรมในเทศกาลมหาพรตแต่ละวันมีบทสอนคริสตชนทุกคนทั้งที่กำลังเตรียมตัวจะรับศีลล้างบาป และผู้ที่รับศีลล้างบาปแล้วให้ดำเนินชีวิตคริสตชนได้อย่างเข้มข้นยิ่งขึ้น และคริสตชนก็มีธรรมเนียมมาร่วมพิธีกรรมในเทศกาลมหาพรตนี้เป็นพิเศษตลอดมาอีกด้วย คำเตือนของพระวรสารจึงบอกให้เราระวังไม่ให้การอธิษฐานภาวนาของเรา เป็นเพียงการโอ้อวดภายนอกเท่านั้น การอธิษฐานภาวนาของเราต้องเป็นการสนทนาส่วนตัวกับพระบิดาเจ้าด้วย
อ้างอิง บทความจาก : คุณพ่อทัศไนย์ คมกฤส
ศูนย์ฝึกอบรมงานอภิบาล “บ้านผู้หว่าน”
สามพราน 2 กุมภาพันธ์ 1999 http://www.catholic.or.th/document/lent1/index.html



1.บทอ่านมิสซาเทศกาลมหาพรต วันพุธรับเถ้า

1.บทอ่านมิสซาเทศกาลมหาพรต วันพุธรับเถ้า

2.พระวรสารมิสซาเทศกาลมหาพรต วันพุธรับเถ้า

3.บทอ่านมิสซาเทศกาลมหาพรต หลังวันพุธรับเถ้า(วันพฤหัส)

4.พระวรสารมิสซาเทศกาลมหาพรต หลังวันพุธรับเถ้า(วันพฤหัส)

5.บทอ่านมิสซาเทศกาลมหาพรต หลังวันพุธรับเถ้า(วันศุกร์)

6.พระวรสารมิสซาเทศกาลมหาพรต หลังวันพุธรับเถ้า(วันศุกร์)

7.บทอ่านมิสซาเทศกาลมหาพรต หลังวันพุธรับเถ้า(วันเสาร์)

8.พระวรสารมิสซาเทศกาลมหาพรต หลังวันพุธรับเถ้า(วันเสาร์)
ดาวน์โหลดได้ที่นี่ http://www.catholic.or.th/service/multimedia/sound/peekee_2009/mahapot01/01.html

No comments:

Post a Comment

Saint Peter: นักบุญเปโตร

That Catholic Show: Night of the Living Catechism

Spirit of Holy Korean Song for God